การขอหนังสือเดินทางฉบับใหม่

การขอหนังสือเดินทางฉบับใหม่

วันที่นำเข้าข้อมูล 9 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 6,398 view

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) คืออะไร?

คือ หนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specifications) ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งแตกต่างจาก หนังสือเดินทางแบบเดิม ดังนี้

  • มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ ลายนิ้วมือ รูปใบหน้า ไว้ใน Contactless Integrated Circuit ซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง
  • สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Automatic Gate ณ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศ โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในหนังสือเดินทางกับ ผู้ถือหนังสือเดินทาง (1: 1)

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร

  1. สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง เป็นมาตรการสำคัญในการสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง ฯลฯ
  2. สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและรวดเร็ว อำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การเข้าเมือง และส่งเสริมการท่องเที่ยว
  3. เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้หนังสือเดินทางไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องทางบวกด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศ

หลักฐานการขอมีหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบุคคลทั่วไป

บัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก

การยื่นคำร้อง

การยื่นคำร้อง ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (ถ่ายภาพใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ) โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. รับบัตรคิว
  2. พบเจ้าหน้าที่เพื่อวัดส่วนสูงเก็บข้อมูลชีวภาพ ถ่ายรูปและเก็บลายพิมพ์นิ้วมือด้วยเครื่อง
    สแกนเนอร์ นิ้วชี้ขวาและซ้ายข้างละ 2 ครั้ง
  3. ลงชื่อในใบคำร้อง
  4. ชำระเงินค่าธรรมเนียม
  5. รับใบเสร็จรับเงินและใบนัดจ่ายเล่ม

ค่าธรรมเนียม

กระทรวงการต่างประเทศยังคงคิดค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เท่า หนังสือเดินทางที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ราคาเล่มละ 1,000 บาทและมีอายุใช้งาน 5 ปี เช่นเดียวกับหนังสือเดินทางปัจจุบันแต่ได้เพิ่มหน้าจากเดิม 32 หน้าเป็น 50 หน้า

การต่ออายุหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

  • เพื่อให้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพการใช้งานได้สูงสุด จึงกำหนดให้หนังสือเดินทางชนิดนี้มีอายุ ใช้งาน 5 ปี
  • หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีการต่ออายุ แต่จะออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม
  • ไม่อนุญาตให้ลงบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ (เช่น การขอเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล) ของผู้ถือหนังสือเดินทางลงในเล่มหนังสือเดินทาง เพื่อป้องกันปัญหาการขาดความน่าเชื่อถือของข้อมูลตัวบุคคลที่บันทึกไว้ใน หน้าหนังสือเดินทางซึ่งอาจขัดแย้งกับข้อมูลที่บันทึกไว้แล้วในไมโครชิพ ดังนั้นหากแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลกระทรวงมหาดไทยเรียบร้อยแล้วต้องทำหนังสือ เดินทางเล่มใหม่

ระยะเวลาเริ่มใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

กำหนดให้บริการออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

  • ระยะแรก (26 พฤษภาคม 2548) เปิดให้บริการหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ประเภททูตและราชการ ที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
  • 1 มิถุนายน 2548 เปิดให้บริการออกหนังสือเดินทาง อิเล็กทรอนิกส์โครงการนำร่องสำหรับประชาชนวันละประมาณ 100 เล่ม ที่กรมการกงสุล อาคารถนนแจ้งวัฒนะ เพียงแห่งเดียว โดยประชาชนสามารถยื่นคำขอหนังสือเดินทางแบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่อไปจน ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2548 สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางแบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันสามารถใช้ต่อไปได้จน กว่าจะหมดอายุ
  • ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป เปิดให้บริการออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกแห่ง ทั้งที่กรมการกงสุล สำนักงานสาขาทั้งในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้า บางนา) ต่างจังหวัด (ขอนแก่น เชียงใหม่ และหาดใหญ่) และสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศทั้ง 86 แห่ง ทั่วโลก

การรับเล่ม

  1. ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการภายหลังจากวันยื่นคำร้อง
  2. โดยที่กระทรวงฯได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลอง เพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ที่กรมการกงสุล ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทาง อิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ
  3. ในกรณีจำเป็น อาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทน/อาจร้องขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ

ผู้สนใจขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 981-7257 ถึง 60 ในวันและเวลาราชการ และที่ www.mfa.go.th หรือสอบถามทางอีเมล์ ที่[email protected]

  • หนังสือเดินทางธรรดา
  • หนังสือเดินทางราชการ

หนังสือเดินทางธรรมดา
                   กระทรวงการต่างประเทศมีความยินดีที่จะขอเรียนให้ประชาชนผู้ใช้บริการหนังสือ เดินทางทุกท่านทราบว่า กระทรวงการต่างประเทศได้จัดพิมพ์หนังสือเดินทางรุ่นใหม่  ซึ่งเป็นหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-พาสปอร์ต ออกให้บริการประชาชนแทนหนังสือเดินทางรุ่นเก่า  โดยได้มีการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบ  สีสรร  และคุณลักษณะด้านป้องกันการปลอมแปลงด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัยตามข้อ กำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ  (International Civil Aviation Organization - ICAO) และเป็นการยกระดับคุณภาพหนังสือเดินทางไทย ให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก  

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือเดินทางที่สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วย เครื่องอ่าน (Machine Readable Passport) รูปแบบใหม่ที่มีการบันทึกข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางไว้ในไมโคร ชิพและฝังไว้ในหนังสือเดินทาง ส่วนข้อมูลชีวภาพที่บันทึกไว้ได้แก่ โครงสร้างใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือตามข้อกำหนด ICAO ดังนั้น การปลอมแปลงจึงกระทำได้ยาก เพราะต้องปลอมแปลงทั้งข้อมูล data page และข้อมูลในไมโครชิพให้ตรงกัน นอกจากนี้ อี-พาสปอร์ตยังช่วยให้การพิสูจน์ตัวบุคคลด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นไปโดยแม่น ยำ

                   หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีสีปกและขนาดเท่ากับหนังสือเดินทางรูปแบบเดิม ดังนั้น เพื่อให้ทราบว่าเป็นหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ปกหน้าด้านล่างจะมี สัญลักษณ์ อี-พาสปอร์ต แต่ภายในเล่มมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดหลายประการ  เริ่มตั้งแต่ปกหน้าด้านใน  มีรูปหัวเรือสุวรรณหงส์ปรากฏอยู่  ขณะที่รูปถ่ายและข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทาง   อยู่ที่หน้า 2   นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลง (Security  Features) อีกหลายอย่างทั้งชนิดที่มองเห็นด้วยตาเปล่าและที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษใน การตรวจสอบ

                   การออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นพัฒนาการอีกทางหนึ่งของกองหนังสือ เดินทางนอกเหนือจากการปรับปรุงรูปแบบและขั้นตอนการบริการให้สะดวกรวดเร็วและ เป็นที่พึงพอใจของประชาชน
             
                   สำหรับหนังสือเดินทางรุ่นเก่าที่ออกให้กับประชาชน  ยังคงใช้งานต่อไปได้จนกว่าจะถึงกำหนดวันหมดอายุในหนังสือเดินทาง  และในกรณีจำเป็นเร่งด่วน  สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่  อาจออกหนังสือเดินทางชั่วคราวให้แก่คนไทย

หนังสือเดินทางราชการ
          หนังสือเดินทางราชการอิเล็กทรอนิกส์มีรูปแบบและมาตรฐานความปลอดภัยสูงเช่น เดียวกับหนังสือเดินทางธรรมดา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณภาพ  เนื่องจากมีการเพิ่มคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลง( Security Features ) หลายอย่าง  ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถตรวจสอบได้ด้วยอุปกรณ์พิเศษ